วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559




วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง วันศุกร์ที่  26 กุมภาพันธ์ 2559

 อทิย์ยุค 


วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 

 วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 

(วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ) 



ความรู้ที่ได้รับ 

         วันนี้เริ่มการเรียนด้วยการใครมาก่อนก็มาปั๊มใบมาเรียนระหว่างที่รอเพื่อนๆมากัน อาจารย์ก็ได้พูดคุยเรื่องต่างๆกับนักศึกษาเพื่อรอเวลาให้เพื่อนมากันให้ครบ




       
            หลังจากที่เพื่อนๆมากันครบแล้วอาจารย์ก็เข้าสู่การสอนโดยการให้ฝึกสมองแบบเบาๆโดยทำแต่ละท่าที่อาจารย์เคยสอนแล้ว เพื่อทบทวนความจำของนักศึกษาก่อนที่จะเรียนในวันนี้ แตวันนี้อาจารย์มีท่าบริหารสมองเพิ่มมาอีกเยอะหลังจากที่เราได้ดูวีดีโอไปแล้วเพื่อทดสอบว่าเราจำท่าอะไรได้บ้าง

นี้คือรูปของแต่ละท่าที่เราเอามาใช้บริหารสมองค่ะ











         หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาเป็นเด็กเพื่อที่อาจารย์จะทำตัวอย่างการสอนให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง เพื่อที่จะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนตามตัวอย่างที่อาจารย์ทำให้ดู






  หลังจากที่อาจารย์สอนเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดูเสร็จ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาพักและเตรียมตัวออกมาสอนหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆดู นี้คือรูปการสอนของแต่ล่ะกลุ่ม




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

ความรู้ที่ได้คือได้นำถ้าบริหารสมองของวันนี้ เอาไปสอนเด็กๆในการทำกิจกกรมเคลื่อนไหวอย่างถูกวิธีว่าเด็กแต่ละช่วงวัยเหมาะกับท่าที่จะเคลื่อนไหวแบบไหน การบริหารสมองถือเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่สนุกสนาน  การเคลื่อนไหวยังได้ใช้ความคิดและจินตนาการในการคิดท่าและฝึกการกล้าแสดงออกและความมั่นใจของตัวเองอีกด้วย  

ประเมินผล 

ประเมินตนเอง
 
ตั้งใจเรียนและตั้งใจในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ สนุกสนานในการเรียนและการทำกิจกกรรม

ประเมินเพื่อน  

เพื่อนๆทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกครั้งอย่างเต็มที่
 
ประเมินอาจารย์  

อาจารย์สอนเข้าใจง่ายและสอนสนุกมาก แต่งกายมาสอนสุภาพเรียบร้อยทุกวัน 




วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 

เนื้อหาทีเเรียน 

สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย 

ความหมาย 
สมรรถนะ คือพฤติกรรมบ่งชื้ของแต่ละวัย ช่วงอายุ ว่าสามรถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
4 ปี ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่ 

ตัวอย่าง : ความทรงจำ 
3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้นๆได้
4 ปี บอกชื่อวันในสัปดาห์
5 ปี บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้ 

ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  
3 ปี แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
4 ปี แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย
5 ปี แก้ปัญหาได้หลายวิธี

ความสำคัญ
- ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
- สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
- ชี้แนะแนวทางในการพัมนาเด็กเป็นเสมือนคุ่มือช่วยแนะแนว

ข้อตกลงเบื้องต้น  
เด็กปบมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนเป็นการสอบตกสอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าช่วงอายุก็ควรไปปรึกษาแพทย์

สมรรภถนะ 7 ด้าน ประกอบไปด้วย  
1.การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
2.พัฒนาการด้านสังคม
3.พัฒนาการด้านอารมณ์
4.พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
5.พัฒนาการด้านภาษา
6.พัฒนาการด้านจริยธรรม
7.พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์  

ด้านที่ 1 การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย 
1. การเคลื่อนไหว 
- การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว
2.สุขภาวะทางกาย 
- โภชนาการ
- สมรรถนะทางกาย
- ความปลอดภัย
- การช่วยเหลือและการดูแลตนเอง

ด้านที่ 2 พัฒนาการด้านสังคม   
1. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใญ่
2.การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3.พฤติกรรมด้านการปรับตัวกับสังคม
4.การเห็นคุณค่าของการแตกต่าง

ด้านที่ 3 พัฒนาการด้านอารมณ์
1.ความคิดเกี่ยวกับตนเอง
2.การควบคุมอารมณ์ตนเอง
3.สมรรถนะของตนเอง
 
ด้านที่ 4 พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา 
1.ความจำ
2.การสร้างหรือพัมนาการคิด(ที่เป็นการคิดเบื้องตน)
3.ตรรกวิทยาและความมีเหตุผล
4.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
5. ความตั้งใจจดจ่อ
6.การคิดด้านคณิตศาสตร์
7.ความเข้าใจปรากฎการณ์และวิธีแสวงหาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
-สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
-สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
8.ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
-ครอบครัว
-ชุมชนและสังคม
9.มลภาวะและการรักาาสิ่งแวดล้อม
10.ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ

ด้านที่ 5 พัฒนาการด้านภาษา 
1.การเข้าใจและการใช้ภาษา
2.การเข้าใจและการใช้ภาษา(การเรียงคำให้เป็นประโยชน์)
3.การเข้าใจและการใช้ภาษา(ด้านความเข้าใจภาษา)
4.การสื่อความหมายด้านการพูด
5.การสื่อความหมายด้านท่าทางและสัญลักษณ์
6.การอ่าน
7.การเขียน

ด้านที่ 6 พัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.การมีวินัยในตนเอง
2.การพัฒนาเกี่ยวกับความรู้ผิดชอบชั่วดี

ด้านที่ 7 พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
1.ศิลปะการแสดงดนตรีและการเต้นตามดนตรี
2.ศิลปะการแสดง
3.ศิลปะการแสดง(ทัศนศิลป์)

สรุปจากงานวิจัย 
จากสมรรถนะจำนวน 419 ข้อ พบได้ว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปหายาก ดังนี้
สมรรถนะ  178 ข้อ อยู่ในระดับ ง่าย

สมรรถนะ  52   ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง
สมรรถนะ  189 ข้อ อยูในระดับ ยาก
ดังนั้นข้อค้นพบเหล่านี้เป็นประเด็นที่บ้านและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมเด็กของเราต่อไปนี้ บนพื้นฐานของการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ดูแลเด็กครูและอาจารย์(สกศ. 2553)
1.รักเด็กเป็นที่เด็ก
2.ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3.เข้าใจกระบวนการและการพัมนาตามวัยของเด็กอย่างรอบด้าน
4.เข้าใจกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
5.มีจินตนาการและค้นหาหรือสร้างสื่อเรียนรู้ที่ทำให้เด็กสนใจ สนึกอยากรู้เพิ่มเติม
6.สนับสนุนเด็กให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กคิดให้เด็กมีส่วนร่วม
7.เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ก้าวร้าวทำร้ายทารุณและไม่ละเมิดทางกาย ทางเพศ ทางวาจากับเด็ก
8.ชี้ชวนเด็กให้รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
9.เข้าใจเรื่องความแตกต่างวระหว่างเด็ก
10.สังเกตเด็กและพฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง
11.สัมพันธ์และสร้างเครือข่ายกับพ่อแม่ผูปกครองและผู้คนในชุมชน
12. คำนึง ประโยชน์สูงสุด ที่จะตกอยู่กับเด็กเป็นสำคัญ


การนำความรู้เอาไปประยุกต์ใช้ 

1.รู้เรื่องเกี่ยวสมรรถนะ 7 ด้านของเด็กปฐมวัย ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้ 
2.การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับอายุและวัยของเด็กว่าควรจะจัดอย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสมตามวัย

การประเมินผล 

การประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน เข้าใจเนื้อหาที่เรียนที่เรียนมากขึ้น แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่คุยเวลาที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน

 ตั้งใจเรียนไม่พูดคุยในขณะทีอาจารย์กำลังสอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่


ประเมินอาจารย์
สม
 อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยทุกวัน เตรียมเนื้อหาการเรียนการสอนมาอย่างครบถ้วนทุกครั้ง





(วันพฤหัสบดีไม่มีเรียนเพราะอาจารย์ต้องไปแก้หลักสูตรใหม่ จึงงดการเรียนการสอนในวันนี้

 

 

 

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 
วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 

เนื้อหาการเรียนของวันนี้ 
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้

1.ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์
กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ
กีเซลล์  ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
 1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด 
 2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ
 3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและท่าทางเคลื่อนไหว
 4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง
 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการ ภายในอินทรีย์ (Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สิ่งที่พบเห็น

2.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นได
เน้นการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ
1.กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อมทั้งทางกายและทางใจเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์เพื่อเป็นการฝึกทักษะเกี่ยวกับจิตใจ  เป็นความพร้อมทางด้านสมองและสติปัญญา
2.กฎแห่งการฝึกหัด  เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ กันหลายๆครั้ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กจะเกิดทักษะในแบบต่างๆซึ้งทำให้ระบบปราสาทและกล้ามเนื้อ ทำงานสัมพันธ์กันดี
3.กฎแห่งผล เด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าหลของการกระทำนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางที่ดี ซึ้งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดทักษะ ทำให้เด็กมีความสนุกสนานและพอใจ
ทฤษฎีของเพียเจต์
เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัสตุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการเรียนรู้ เป็นสื่อการกระตุ้นความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสการเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ 
3.ทฤษฎีการเคลื่อนไหวสร้างสรรค์
ทฤษฎีสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด
      กิลฟอร์ด กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย  ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม  ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น  ความคิดละเอียดลออ

กิลฟอร์ด ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
1. ความคิดริเริ่ม  หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่
2. ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำเป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก  เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3. ความคิดยืดหยุ่น  หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที  เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลงหมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน
4. ความคิดละเอียดละออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น  
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
อี พอล ทอร์แรนซ์ นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent
ได้กําหนดขั้นตอนของความคดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้ 
1. ขั้น เริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจรงิ เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าดัวยกันเพื่อหาความกระจ่างในปัญหา ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดและอาจใช้เวลานานจน บางครั้งจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว
2. ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงักไปเฉยๆเป็นเวลานาน บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก
3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว การมองเห็นความสัมพันธ์ในแนวความคิดใหม่นี้จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด ผู้คิดไม่ได้นึกฝันว่าจะเกิดขึ้นเลย
 4. ขั้น ปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายหรือต่อเติม เสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป ในบางกรณีก่อให้เกิดการประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ นวนิยาย บทเพลง จิตรกรรม และการออกแบบอื่นๆ เป็นต้น

4.ทฤษฎีด้านสังคม  
ทฤษฎีของอิริคสัน 
อิริคสันได้แ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ต่อไปนี้
1. ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้ว่างใจ ซึ่งเป้นขั้นวัยทารก อิริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการ ในวัยต่อไปนี้ 
2.ขั้นความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจตนเอง อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติมดตของร่างกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระพึ่งตนเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น
3.ขั้นการเป็นผู้คิดริ่เริ่ม-การรู้สึกผิด วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อิริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริ่เริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับเด็กวัยนี้เพราะเด็ดจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ
(สามขั้นแรกเป็นครั้งที่พฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูร่า
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่างๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 
4 กระบวนการ
1.กระบวนการดึงดูดความสนใจ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กสังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดความสนใจ ที่จะเลียนแบบ ควรเป็นกิจกรรมง่ายๆไม่สลับซับซ้อน
 2.กระบวนการคงไว้ คือกระบวนการบันทึกรหัสเป็นความทรงจำ การที่เด็กจะต้องมาความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้หรือได้ยินเก็บเป็นความทรงจำ
3.กระบวนการแสดงออก คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่างๆ
4.กระบวนการจูงใจ คือกระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง

ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูร่า เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
เมื่อตอนเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นทีวีในบ้าน หรือว่านอกบ้าน สิ่งต่างๆที่เด็กเห็นนั้นล่วนมีการเคลื่อนไหวแสดงท่าทางต่างๆและเมื่อเด็กจะสังเกต สมองของเด็กจะมีการจดจำ ในสิ่งพวกนั้น
และนำมาทำตาม หรือเรียกว่า การเลียนแบบ

 ทฤษฎีของอิริคสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
ตามทฤษฎีอาจได้กล่าวว่า เด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตัวเองและในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญจากการเรียนรู้จากเด็กวัยนี้

  
นี้คือรูปเพื่อนๆที่ออกมำเสนอหน้าชั้นเรียนค่ะ











ความรู้ที่ได้รับ 

      วันนี้ก่อนจะเรียนในระหว่างที่รอเพื่อนๆอาจารย์ก็มีคลิปวีโดโอสอนใจเกี่ยวกับวัยรุ่นไทยสมัยนี้ อาจารย์ได้พูดคุยสอนตัดเตือนในระหว่างๆที่รอเพื่อนๆมากันครบเพื่อนที่จะเป็นข้อคิดให้กับนักศึกษา

  
 
          หลังจากที่เพื่อนๆมากันครบแล้วอาจารย์ก็เข้าสู่การสอนโดยการให้ฝึกสมองแบบเบาๆโดยทำแต่ละท่าที่อาจารย์เคยสอนแล้ว เพื่อทบทวนความจำของนักศึกษาก่อนที่จะเรียนในวันนี้



     หลังจากที่ฝึกสมาธิความจำของแต่ละท่าเสร็จแล้ว อาจารย์ก็เปิดเพลงให้นักศึกษาได้ออกมาทำท่าออกกำลังกายโดยทุกคนต้องคิดท่าเพื่อที่จะออกมาเป็นผู้นำให้เพื่อนๆทำตามแต่ละท่าต้องไม่ซ้ำกับเพื่อนๆที่ออกมาแล้ว


         

             ต่อไปไปอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 5 คน 4 กลุ่ม อาจารย์ให้คิดท่าทั้งหมด 10 ท่าโดยแบ่งให้เพื่อนในกลุ่มคนละ 2 ท่าเพื่อออกมาเป็นผู้นำกลุ่มให้เพื่อนในกลุ่มทำตาม อาจารย์ให้เวลาวางแผนละคิดท่า หลังจากนนั้นก็ออกมานำเสนอเป็นกลุ่มให้เพื่อนๆดูโดยอาจารย์จะเป็นคนเปิดเพลงให้ เพื่อให้เราได้เต้นเข้าจังหวะตามเพลงที่เปิด กลุ่มของดิฉันเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาเต้นท่าเข้าจังหวะ

นี้คือรูปเพื่อนๆในแต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนอท่าที่แต่ละกลุ่มคิดไว้ค่ะ





















            
           หลังจากที่เพื่อนออกมานำเสนอท่าของแต่ละกลุ่มเสร็จกันครบหมดทุกคนแล้วอาจารย์ก็ให้นั่งพักในระหว่างที่พักอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนคิดท่าของตัวเองไว้สามท่าเพื่อที่จะออกมาเต้นให้เพลงดู ท่าแต่ล่ะท่าต้องดูด้วยว่าเหมาะกับเด็กปฐมวัยไหม ในระหว่างที่เราออกมานำเสนอท่าของตนเองเราต้องออกมาสอนโดยคิดว่าตนเองป็นครูแลเพื่อนไเป็สเด็กอนุบาล โดยคนแรกๆอาจารย์จะช่วยบอกวิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้ดูเป็นแบบอย่าง
 




 


การนำความรู้เอาไปประยุกต์ใช้  


1.เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับ เด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้ 
2. นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้
มาเกี่ยวข้อง


การประเมินผล 
 
ประเมินตนเอง 
 
 ตั้งใจเรียนและตอบคถามอาจารย์ทุกครั้ง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
 
ประเมินเพื่อน 
 
 ให้ความร่วมมือมนการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ มีความกล้าแสดงออกกันทุกคน
 
ประเมินอาจารย์  
 
อาจารย์ตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพทุกครั้ง เป็นกันเองแนะนำกิจกรรมใหม่ๆให้นักศึกษาได้ทำเสมอ